นักแก้ไขการพูด (Speech-Language pathologist)
อ้างอิงจากจรรยาบรรณเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพโสตสัมผัสวิทยาและการแก้ไขการพูด, 2543
ลักษณะงาน
- ปฎิบัติงานเกี่ยวกับการวินิจฉัยความผิดปกติของการสื่อความหมายทางภาษาและการพูด
- การตรวจคัดกรองหาข้อบ่งชี้ ประเมินสภาพความผิดปกติ ทดสอบความสามารถทางด้านภาษาและการพูดรวมถึงการกลืน
- แยกประเภทความผิดปกติต่างๆ บำบัดรักษา
- แก้ไขและฟื้นฟูสมรรถภาพได้ครอบคลุมทุกประเภทของความผิดปกติ เช่น การพูดไม่ได้ พูดไม่ชัด เสียงผิดปกติ ปากแหว่งเพดานโหว่ ประสาทหูพิการ ออทิสติก สติปัญญาอ่อน กลืนลำบาก กลืนผิดวิธี ผู้ป่วยที่ตัดกล่องเสียง ผู้ป่วยสมองพิการ เป็นต้น
- แก้ไขความบกพร่องที่เกิดขึ้นกับกระบวนการพูด ระบบภาษา การทำงานของอวัยวะในช่องปาก คอ หลอดอาหารช่วงต้น
- การปรับพฤติกรรม การเรียนรู้ อารมณ์ และการอยู่ร่วมกันในสังคม
- แนะนำแก่ผู้ปกครอง ญาติ ผู้ดูแล หรือผู้เกี่ยวข้อง ให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับความผิดปกติของผู้ป่วยและเรียนรู้วิธีการรักษาที่ถูกต้อง
- คัดเลือกหรือประยุกต์ใช้เครื่องช่วย อุปกรณ์เสริม วัสดุ เพื่อทดแทนให้เหมาะสมกับสภาพของผู้ป่วย ติดตามผลการรักษา ส่งต่อผู้ป่วยเพื่อขอรับการช่วยเหลืออื่น ๆตามความเหมาะสม
- เผยแพร่ความรู้เพื่อป้องกันความผิดปกติทางภาษาและการพูด
- พัฒนาและสร้างเทคนิคการบริการการทำวิจัย ค้นคว้าโดยผ่านกระบวนการประเมิน วิเคราะห์และวางแผนอย่างมีระบบ
คุณสมบัติ
จบปริญญามหาบัณฑิต หรือ ดุษฎีบัณฑิต ด้านศิลปศาสตร์หรือ วิทยาศาสตร์บัณฑิตสาขาความผิดปกติทางการสื่อความหมาย วิชาเอกความผิดปกติทางภาษาและการพูด (Speech and Language Pathology)