นักแก้ไขการได้ยินหรือนักโสตสัมผัสวิทยา (Audiologist)
อ้างอิงจากจรรยาบรรณเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพโสตสัมผัสวิทยาและการแก้ไขการพูด, 2543
ลักษณะงาน
ปฎิบัติงานเกี่ยวกับการตรวจวินิจฉัยหาพยาธิสภาพของระบบการได้ยินที่เกิดขึ้น ตั้งแต่หูชั้นนอก หูชั้น กลาง หูชั้นใน ก้านสมอง และสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการได้ยินด้วยวิธีปกติและวิธีพิเศษ ตลอดจนตรวจวินิจฉัยหาพยาธิสภาพของระบบที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้แก่
- ระบบการทรงตัว
- ตรวจเพื่อค้นหาความผิดปกติทางการได้ยินในเด็กแรกเกิดโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เพื่อติดตามผลและวางแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพตรวจเพื่อหาความผิดปกติทางการได้ยินในเด็กก่อนวัยเรียน และตรวจเพื่อหาสาเหตุที่ทำให้เด็กมีพัฒนาการทางภาษาและการพูดล่าช้า
- การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการได้ยิน โดยประเมินผลเพื่อเลือกเครื่องช่วยฟังให้เหมาะกับการสูญเสียการได้ยินของผู้ป่วย
- การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการฟังในผู้ป่วยผู้ใหญ่และผู้ป่วยเด็กหูพิการแต่กำเนิด
- การรณรงค์ป้องกันโรคหู หูหนวก หูตึงที่เกิดขึ้นในโรงเรียนและชุมชน
- การอนุรักษ์การได้ยินของคนงานในโรงงานอุตสาหกรรม การให้ความรู้แก่ประชาชน
- ปฎิบัติงานวิจัย เพื่อพัฒนาคุณภาพงานด้านบริการ บริหาร การเป็นวิทยากรเพื่อให้ความรู้แก่บุคคลากรที่เกี่ยวข้อง
คุณสมบัติเฉพาะ
จบปริญญามหาบัณฑิต หรือ ปริญญาดุษฎีบัณฑิตด้านศิลปศาสตร์ หรือ วิทยาศาสตร์บัณฑิตสาขาความผิดปกติของการสื่อความหมาย วิชาเอก โสตสัมผัสวิทยา (Audiologist)